คณะรัฐประหารยังไม่ลงจากอำนาจ หลังเลยกำหนดปล่อยตัวผู้นำไนเจอร์

ขณะที่กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งชาติแอฟริกาตะวันตก (ECOWAS) ประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการเงินอย่างเข้มข้นเพื่อกดดันให้คณะรัฐประหารปล่อยตัวประธานาธิบดีบาซูมจากการจับกุม ลงจากอำนาจและคืนอำนาจให้แก่ประธานาธิบดีบาซูมทันทีภายใน 1 สัปดาห์

เมื่อวานคือวันสุดท้ายที่กลุ่มประเทศ ECOWAS ได้กำหนดเส้นตายและยื่นคำขาดไว้ว่า หากคณะรัฐประหารไนเจอร์ไม่ยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง ECOWAS จะใช้มาตรการทางการทหารเพื่อให้ไนเจอร์กลับสู่การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

ม็อบหนุนรัฐประหารไนเจอร์ บุกเผาทำลายที่ทำการพรรครัฐบาล

ปลอดภัยดี ประธานาธิบดีไนเจอร์ปรากฏตัวครั้งแรกหลังถูกรัฐประหาร คำพูดจาก เว็บสล็อต

 คณะรัฐประหารยังไม่ลงจากอำนาจ หลังเลยกำหนดปล่อยตัวผู้นำไนเจอร์

เมื่อคืนวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่นที่ไนเจอร์ หลังจากหมดเวลาที่กลุ่ม ECOWAS ได้ขีดเส้นตายไว้ ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวจากฝ่ายคณะรัฐประหารอย่างไรก็ตาม สัญญาณที่ออกมาจากคณะรัฐประหารไม่ใช่การลงจากอำนาจ

อมาโด อับดราเมน โฆษกประจำกองทัพไนเจอร์ได้ออกมาแถลงผ่านช่องโทรทัศน์ของรัฐว่า สภาแห่งชาติเพื่อการพิทักษ์มาตุภูมิหรือคณะรัฐประหารไนเจอร์ได้ตัดสินใจประกาศปิดน่านฟ้าอย่างไม่มีกำหนด โฆษกกองทัพไนเจอร์ประกาศว่า สาเหตุที่ต้องมีการปิดน่านฟ้าเป็นเพราะต้องป้องกันไม่ให้อำนาจภายนอกเข้ามาการแทรกแซงกิจการภายในของไนเจอร์ ในถ้อยแถลงของโฆษกองทัพยังอ้างอีกด้วยว่า มีสัญญาณชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ที่กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านจะเข้าแทรกแซงไนเจอร์

ขณะที่ก่อนจะเลยเวลาที่ขีดเส้นตายไว้ กลุ่มประเทศ ECOWAS ก็ได้ออกมาย้ำท่าทีที่แน่วแน่ตามคำขาดว่ามาตรการทางการทหารจะเป็นมาตรการสุดท้ายที่ ECOWAS จะนำมาใช้หากคณะรัฐประหารไนเจอร์ยังไม่ยอมคืนอำนาจให้แก่ประธานาธิบดีบาซูม ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้นำกองทัพของประเทศสมาชิกกลุ่ม ECOWAS ได้ประชุมร่วมกันเป็นเวลา 3 วันที่กรุงอาบูจา เมืองหลวงของประเทศไนจีเรีย หลังจากจบการประชุม มีรายงานออกมาว่าที่ประชุมของผู้นำทหารกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตกได้เตรียมแผนการปฏิบัติการแทรกแซงทางการทหารในไนเจอร์ไว้เรียบร้อยแล้ว หากจำเป็นต้องใช้มาตรการทางการทหารกับไนเจอร์จริงๆ

แอดเดล-ฟาเตา มูซาห์ กรรมาธิการด้านการเมือง การทหารและความมั่นคงของกลุ่ม ECOWAS ได้ออกมาระบุว่า ทาง ECOWAS ได้วางแผนปฏิบัติการอย่างละเอียดแล้วว่าจะเริ่มแผนปฏิบัติการในไนเจอร์เมื่อไหร่ ต้องใช้กองกำลังกำลังเท่าไหร่ และจะส่งกองกำลังเข้าไปในไนเจอร์เมื่อไหร่ เข้าไปยังจุดไหน และจะปฏิบัติการอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ คริสโตเฟอร์ มูซา ผู้บัญชาการกองกำลังความมั่นคงไนจีเรียยังเน้นย้ำอีกว่า การออกมาแถลงของกลุ่มประเทศ ECOWAS ไม่ใช่เพียงแค่คำพูดลอยๆ เท่านั้น แต่เป็นการบอกว่าทุกประเทศพร้อมจะลงมือจริงๆ

สะท้อนว่ากลุ่ม ECOWAS แน่วแน่ที่จะจัดการปัญหาในไนเจอร์อย่างมาก ซึ่งตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาทางกลุ่มมักระบุว่า มาตรการทางการทหารจะเป็นทางเลือกสุดท้ายหากคณะรัฐประหารไนเจอร์ไม่ทำตามข้อเรียกร้อง

รายงานจาก เดอะ เคเบิล สำนักข่าวท้องถิ่นในไนจีเรียว่า มูฮัมมาดู บูฮารี ประธานาธิบดีไนจีเรียได้ส่งจดหมายแจ้งไปยังรัฐสภาไนจีเรียเรียบร้อยแล้วว่า ไนจีเรียจะใช้มาตรการทางการทหารตามมติของกลุ่ม ECOWAS หากคณะรัฐประหารไนเจอร์ยังคงดึงดันไม่ลงจากอำนาจ หมายความว่าไนจีเรียจะเข้าร่วมปฏิบัติการครั้งนี้อย่างแน่นอน

นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ Le Monde ของฝรั่งเศสยังรายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อที่มีความใกล้ชิดกับกองทัพในแอฟริกาตะวันตกว่า มีหลายประเทศ เช่น เซเนกัลและโกตดิวัวร์ที่ยืนยันการเข้าร่วมปฏิบัติการแล้วเช่นกัน

โดยไนจีเรียจะเป็นฐานที่มั่นหลักในการเคลื่อนกำลังพลทั้งทางบกและทางอากาศในกรณีที่จะลงมือปฏิบัติการจริง

อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านกำหนดเส้นตายไปแล้ว ยังไม่มีความชัดเจนว่ากลุ่ม ECOWAS จะเริ่มปฏิบัติการตามคำขาดที่ให้ไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนจริงหรือไม่ หรือจะลงมือปฏิบัติการเมื่อไหร่ คำถามคือ ทำไม ECOWAS จึงมีท่าทีที่แข็งกร้าวเช่นนี้และ ECOWAS จะประสบความสำเร็จหรือไม่หากต้องใช้กำลังทางการทหารจริง

สาเหตุที่กลุ่ม ECOWAS มีท่าทีที่แข็งกร้าว มีการวิเคราะห์ออกมาว่าเป็นเพราะเกรงกว่าการรัฐประหารในไนเจอร์จะยิ่งสั่นคลอนและซ้ำเติมปัญหาความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของกลุ่มติดอาวุธจีฮัดในแอฟริกา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไอซิส กลุ่มอัลกออิดะห์ และกลุ่มโบโกฮารามในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือ การรัฐประหารในไนเจอร์อาจเดินตามรอยมาลีและบูร์กินาฟาโซที่จบด้วยการที่ชาติตะวันตกที่ส่งกองกำลังเข้ามาช่วยปราบกลุ่มจีฮัดและถอนกำลังพลออกไป จนส่งผลให้ศักยภาพในการรับมือของชาตินั้นๆ ลดลงกว่าเดิมและอาจเปิดทางให้กลุ่มจีฮัดขยายอิทธิพลได้

และไนเจอร์คือประเทศแกนหลักและฐานที่มั่นสำคัญของชาติตะวันตกอย่างฝรั่งเศส อดีตเจ้าอาณานิคมและสหรัฐฯ ในการปฏิบัติการต่อต้านก่อการร้าย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความแน่ชัดว่าแนวทางการใช้กำลังทางการทหารจะประสบความสำเร็จในการกดดันคณะรัฐประหารของไนเจอร์หรือไม่

เมื่อปี 2017 กลุ่มประเทศ ECOWAS เคยส่งกองกำลังเข้าไปในประเทศแกมเบีย ครั้งนั้น ECOWAS ตัดสินใจส่งทหารเข้าไป เนื่องจากยาห์ยา จัมเมห์ อดีตประธานาธิบดีแกมเบียซึ่งครองอำนาจมาอย่างยาวนาน ไม่ยอมสละตำแหน่งประธานาธิบดีให้แก่อดามา แบร์โรว์ หลังจากที่มีการเลือกตั้ง แต่หลังจากที่ ECOWAS เคลื่อนขบวนรถถังผ่านเข้าไปบริเวณชายแดนแกมเบีย ปรากฏว่าแรงกดดันดังกล่าวส่งผลให้อดีตประธานาธิบดีจัมเมห์ประกาศลงจากอำนาจอย่างรวดเร็ว

นี่จึงเกิดการตั้งคำถามว่า หาก ECOWAS ประกาศลงมือใช้กำลังทางการทหารในไนเจอร์แล้ว จะประสบความสำเร็จเหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นในแกมเบียหรือไม่ แม้ว่าจะไม่มีคำตอบที่แน่ชัด เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่ ECOWAS จะใช้เครื่องมือทางการทหารในกรณีรัฐประหาร แต่หากมีการส่งทหารเข้าไปแทรกแซงในไนเจอร์จริง จะมีความเสี่ยงที่ตามมา

ล่าสุด เวมบา เฟโซ ดิโซเลเล ผู้อำนวยการและนักวิชาการอาวุโสประจำโปรแกรมแอฟริกาแห่ง Center for Strategic and International Studies ได้ออกมาวิเคราะห์ผ่าน CNN ว่า การใช้กำลังทางการทหารของ ECOWAS อาจนำไปสู่ความเสี่ยงจำ นวนหนึ่งคือ

1. อาจทำให้การเข้าไปช่วยเหลือประธานาธิบดีบาซูมที่ถูกจับเป็นตัวประกันได้ยากขึ้น หากวางแผนปฏิบัติการไม่รัดกุมพอ

2. ต่อให้สามารถคืนอำนาจให้ประธานาธิบดีบาซูมได้สำเร็จ ภาพลักษณ์ของประธานาธิบดีบาซูมจะเสื่อมเสีย

3. การใช้กำลังเข้าแทรกแซงอาจเผชิญการต่อต้านจากประชาชนชาวไนเจอร์ที่สนับสนุนการรัฐประหาร

ขณะที่ตลอดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนชาวไนเจอร์ราว 30,000 คนก็ได้ออกมาชุมนุมเพื่อนแสดงความสนับสนุนคณะรัฐประหารและต่อต้านการแทรกแซงทางการทหารของ ECOWAS

ภาพบรรยากาศการชุมนุมในสเตเดียมที่กรุงนีอาเม เมืองหลวงของไนเจอร์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ใกล้กำหนดเวลาเส้นตายที่ ECOWAS วางไว้ใกล้หมดลง บรรยากาศของการชุมนุมไม่ต่างจากการประท้วงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุมได้นำธงรัสเซียออกมาชู ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ต่อต้านชาติตะวันตก ขณะที่ทหารระดับสูงจำนวนหนึ่งจากกองทัพไนเจอร์ก็มาปรากฏตัวในที่ชุมนุมด้วยเช่นกันโดยผู้ชุมนุมที่เดินทางมาเข้าร่วมหลายคนมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า การทำรัฐประหารเป็นการตัดสินใจของชาวไนเจอร์เองเพื่อจบการปกครองที่ปนไปด้วยอิทธิพลของชาติตะวันตก และแสดงความไม่พอใจต่อมาตรการของ ECOWAS ที่จะใช้ทุกมาตรการที่มีเพื่อคืนอำนาจให้ประธานาธิบดีบาซูม

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า มีการชุมนุมตามท้องถนนในกรุงนีอาเมอีกด้วย ขณะที่ไม่ปรากฏการชุมนุมของฝ่ายต่อต้านคณะรัฐประหาร