แบงก์ชาติ รับหนี้เสียเพิ่มขึ้นแน่ แต่ไม่พุ่งก้าวกระโดด
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยในการแถลงข่าวสถานการณ์หนี้ครัวเรือนและความคืบหน้าแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ระบุว่า ตัวเลขจากเดิม 86.3% ปรับขึ้นมาเป็น 90.6% ของจีดีพี ต้องย้ำก่อนว่าไม่ใช่ตัวเลขหนี้ใหม่ เป็นหนี้เดิมที่เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ถูกนำมาคำนวณให้ครบอคลุมมากขึ้น ซึ่งตังเลขก็ค่อยๆ ปรับตัวลดลงตามภาพเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่น่ากังวลต่อระบบการเงินของไทยมานานแล้ว
โดยเมื่อดูสัดส่วนหนี้ทั้งหมดแล้วแบ่งแยกตามประเภท จะพบว่าสัดส่วนหลัก 34% เป็นสินเชื่อบ้าน, 11% เป็นหนี้รถยนต์ ซึ่งส่วนหนึ่งใช้ประกอบอาชีพด้วย 27% และ 28% เป็นสินเชื่ออื่นๆ เช่น กยศ.
ขณะที่จำนวนบัญชี-ยอดหนี้ของสินเชื่อค้างชำระเกิน 90 วัน จากผลกระทบของโควิด ล่าสุด ได้ทยอยปรับลดลงจากจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ด้วยมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ ดังนั้น หากหนี้ที่ก่อแล้วลูกหนี้นำไปใช้ต่อยอดให้เกิดรายได้ แล้วยังจ่ายหนี้ได้สถานการณ์ก็ยังไม่น่ากังวล แต่ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่ามีกลุ่มเปราะบางที่ยังไม่ฟื้นตัวจากโควิดมีความเสี่ยงเช่นเดียวกันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
"สถานการณ์ทั้งหมดไม่ใช่จะกลายเป็นหนี้เสีย อย่างช่วงเมษายน พฤษภาคม ช่วงเปิดเทอมตัวเลขสินเชื่อรายย่อยก็ปรับเพิ่มขึ้น แล้วกลับมาจ่ายได้ ปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น จึงให้เจ้าหนี้ดูแลเป็นรายๆ สิ่งสำคัญคือลูกหนี้ต้องไม่กลัวการพูดคุย กับเจ้าหนี้ ตอนนี้ปัญหาหนี้ที่น่าห่วงที่สุด คือ สินเชื่อส่วนบุคคล ที่นำเงินไปใช้จ่ายที่ไม่เกิดรายได้" นางสาวสุวรรณี กล่าว
สำหรับแนวโน้มหนี้เสีย(NPL) ในอนาคต ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. มองว่า ตัวเลขหนี้เสียอาจปรับขึ้นบ้าง จากกลุ่มเปราะบางที่รายได้น้อย หรือรายได้ยังไม่ฟื้นตัว แต่จะไม่เห็น NPL Cliff (การก้าวกระโดดเหมือนหน้าผาสูง) ซึ่งยังเป็นปัญหาที่บริหารจัดการได้ สอดคล่องกับเรทติ้งเอเจนซี่ ที่ให้ความเชื่อมั่นประเทศไทย ว่าระบบธนาคารยังมั่นคง อีกทั้งการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยจะทำให้ความสามารถการชำระหนี้ดีขึ้น
ทั้งนี้แนวทางแก้ปัญหา ธปท. จะดำเนินการใน 3 แนวทาง ได้แก่ 1. ใช้เกณฑ์ Responsible Lending กำหนดให้เจ้าหนี้ให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ เป็นธรรมตลอดวงจรหนี้ 2. กลไก Risk-based pricing ส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อในระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะกับความเสี่ยง และ 3. มาตรการ Macroprudential คุมหนี้ไม่ให้อยู่ในระดัยสูงเกินไป เป็นต้นเป็นต้น
หนี้ กยศ. ดันหนี้ครัวเรือนพุ่งแตะ 16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ต่อจีดีพี
ลิสซิ่งเข้มงวดก่อนปล่อยสินเชื่อรถ หลังหนี้เสียพุ่ง
ธปท.แนะลูกหนี้รถ ตัดขายหยุดหนี้ หากผ่อนไม่ไหว-ไม่มีความจำเป็นต้องใช้
ขณะที่ปัญหาสินเชื่อรถยนต์ ถือเป็นหนี้กลุ่มใหญ่สุด ที่เคยได้รับความช่วยเหลือ แต่รายได้ยังไม่กลับมา อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ทั้งหมดที่จะกลายเป็นหนี้เสีย ตามพฤติกรรมของพอร์ตรถยนต์ เนื่องจากหลายครั้งมีการเลี้ยวงวด คือ การจ่ายบ้างบางงวด แล้วเดือนถัดไปเอาเงินไปหมุนจ่ายค่าอื่นๆ จากนั้นกลับมาผ่อนต่อไม่ให้เกิน 3 เดือน เพื่อไม่ให้รถถูกยึด
ข้อแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย อยากให้ลูกหนี้พิจารณาความจำเป็นในการใช้รถ กับความสามารถในการผ่อน หากผ่อนไม่ไหว แล้วไม่มีความจำเป็นต้องใช้รถ อาจเลือกที่จะตัดหนี้ส่วนนี้ออกไปเพื่อลดภาระการผ่อนชำระ
หนี้ กยศ. 4.8 แสนล้าน เชื่อลูกหนี้กลับมาจ่ายหลังปรับลดเบี้ยปรับ
ปัญหาหนี้ของ กยศ. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการหารือกันถึงปัญหาดังกล่าว มีการแก้ไขกฎเกณฑ์ ปรับลดเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ลดลงไปค่อนข้างเยอะ ด้วยตัวฝั่งผู้ดูแลัองก็รับรู้ปัญหา และมีการออกกฎหมายเพิ่มเติม คิดว่าน่าจะทยอยเจรจากับนักศึกษาที่ทำงานไปแล้ว มีกำลังให้กลับมาจ่ายได้ จึงเชื่อว่าแนวโน้มอาจปรับตัวลดลงตามลำดับ ประกอบกับแต่ก่อนพอเป็นหนี้แล้วโดนเบี้ยปรับสูงมากๆ จ่ายไปหนี้ก็ยังไม่จบ จึงเกิดการผิดนัดชำระเพิ่มขึ้นมาก