“แร่ลิเทียม” คืออะไร- หลังประเทศไทยพบมากเป็นอันดับ 3 ของโลก

จากกรณีเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 67 นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาเปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งสำรวจจนพบแหล่งแร่ลิเธียมที่มีศักยภาพ 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งเรืองเกียรติและแหล่งบางอีตุ้ม จ.พังงา โดยค้นพบรวมถึง 14.8 ล้านตัน ทำให้ไทยขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลกที่มีแร่ลิเทียมมากที่สุด

ทั้งนี้ ไทยมีลิเทียมเป็นรองโบลิเวีย ซึ่งมีอยู่ 21 ล้านตัน และอาร์เจนตินา 19 ล้านตัน แต่แซงหน้าสหรัฐฯ ที่มี 12 ล้านตันขึ้นมา

เอกชนเชื่อ ไทยพบ “แร่ลิเทียม” ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเพิ่มหลายแสนล้าน

อันดับ 3 ของโลก! ไทยพบแหล่งแร่ลิเทียม-โซเดียม วัตถุดิบผลิตแบตฯ รถ EV

นางรัดเกล้าระบุว่า การค้นพบนี้จะสามารถทำให้ไทยเข้าใกล้การเป็นศูนย์กลางด้านยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Hub ของเอเชีย และจะทำให้ไทยลดการนำเข้าและพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้นอีกด้วย

“แร่ลิเทียม” คืออะไร ?คำพูดจาก เล่นเกมสล็อตออนไลน์

 “แร่ลิเทียม” คืออะไร- หลังประเทศไทยพบมากเป็นอันดับ 3 ของโลก

ลิเทียม (Lithium) เป็นธาตุที่มีสัญลักษณ์ Li และเลขอะตอม 3 ในตารางธาตุ อยู่ในกลุ่มโลหะอัลคาไล (Alkali) ซึ่งเป็นกลุ่มธาตุที่ว่องไวในการทำปฏิกิริยามาก ติดไฟเองในอากาศ ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำได้

ลิเทียมบริสุทธิ์ เป็นโลหะที่อ่อนนุ่ม และมีสีขาวเงิน ถูกออกซิไดซ์ (Oxidize) เร็วในอากาศและน้ำ ลิเทียมเป็นธาตุของแข็งที่เบาที่สุด และใช้มากในโลหะผสมสำหรับการนำความร้อนในแบตเตอรี่ไฟฟ้าและถ่านไฟฉายรวมถึงเป็นส่วนผสมในยาบางชนิดที่เรียกว่า “mood stabilizer” ด้วย

โดย ลิเทียม สามารถสกัดได้จากแร่หลายชนิด แต่จะมีแร่หลักอยู่ 2 ชนิดที่พบ ลิเทียมได้มาก ได้แก่แร่เลพิโดไลต์ และแร่สปอดูมีน ส่วนในหิน จะสามารถค้นพบได้ในหินแกรนิตหรือหินเพกมาไทต์เป็นส่วนใหญ่ สำหรับประเทศไทย จะพบลิเทียมในแร่เลพิโดไลต์มากกว่าสปอดูมีน

นอกจากนี้ ยังสามารถสกัดได้จาก แร่โพแทส หรือผลึกโพแทสเซียมคลอไรด์ (เกลือแกง) จากหลายแหล่งทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบอเมริกาใต้ ซึ่งลิเทียมที่สกัดได้จากแร่โพแทส จะเรียกว่า ลิเทียมคลอไรด์

ลักษณะพื้นฐานของแร่ลิเทียม

ลิเทียมเป็นโลหะที่เบาที่สุดในบรรดาโลหะทั้งหมด และมีความหนาแน่นเพียงครึ่งเท่าของน้ำ และยังมีคุณสมบัติของโลหะแอลคาไลน์เอิร์ธ (Alkaline Earth) ด้วย

ลิเทียมเป็นโลหะสีเงิน อ่อนนิ่มมาก สามารถตัดด้วยมีดที่คมได้ มีคุณสมบัติอย่างโลหะอัลคาไลทั้งหมด นั่นคือ มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว และสามารถสูญเสียอิเล็กตรอนตัวนี้ไปเป็นไอออนบวก ทำให้มีอิเล็กตรอนในระดับชั้นพลังงานที่ไม่ครบถ้วน

ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ลิเทียมทำปฏิกิริยาในน้ำได้ง่าย และไม่ปรากฏโดยอิสระในธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ลิเทียมยังถือว่าทำปฏิกิริยายากกว่าโซเดียม ซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีที่คล้ายกัน

ลิเทียมที่อยู่ในรูปโลหะบริสุทธิ์จะติดไฟได้ง่ายและระเบิดได้ค่อนข้างง่าย หากสัมผัสกับอากาศ และโดยเฉพาะกับน้ำ ไฟจากลิเทียมนั้นดับได้ยาก ต้องอาศัยสารเคมีเฉพาะที่ผลิตมาสำหรับการดับไฟนี้โดยตรง

โลหะลิเทียมยังสึกกร่อนง่าย และต้องจับต้องอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนัง การเก็บรักษาควรเก็บไว้ในรูปของสารประกอบที่ไม่ทำปฏิกิริยา เช่น แนพธา (naphtha) หรือไฮโดรคาร์บอน

สารประกอบลิเทียมนั้นไม่มีบทบาทเชิงชีววิทยาในธรรมชาติ และถือว่าเป็นพิษพอสมควร เมื่อใช้เป็นยา จะต้องคอยตรวจสอบอย่างระมัดระวัง เพราะลิเทียมไอออน (Li+) จะทำให้เลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น

ประโยชน์ของแร่ลิเทียม

ลิเทียมสามารถนำไปผลิตแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ (Rechargeable Battery) ซึ่งแบตเตอรี่เหล่านี้ถูกนำไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า และสมาร์ตโฟน (Smartphone) นอกจากนั้นลิเทียมยังถูกนำไปใช้ในการผลิตเซรามิกและแก้ว และการผลิตจารบี เป็นต้น

ด้วยคุณสมบัติของความเป็นธาตุในกลุ่มอัลคาไลน์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักที่สามารถดึงออกมาใช้ในอุตสาหกรรมการกักเก็บพลังงานได้ดี จึงเป็นที่ต้องการสูง

และเนื่องจากลิเทียมมีความร้อนจำเพาะที่สูงมากที่สุดในบรรดาของแข็งใด ๆ ทำให้มีการใช้ลิเทียมในการถ่ายเทความร้อน นอกจากนี้ยังใช้เป็นโลหะขั้วแอโนด (Anode) ของแบตเตอรี่ ทั้งนี้เพราะศักย์ทางไฟฟ้าเคมีที่สูง ขณะเดียวกัน การที่มีน้ำหนักแห้งกว่าเซลล์มาตรฐานทั่วไป แบตเตอรีเหล่านี้จึงให้แรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่า (3 โวลต์ ขณะที่แบตเตอรีแบบอื่นให้แรงดัน 1.5 โวลต์)

ออปต้า ทำนายผลแข่ง ทีมชาติไทย พบ โอมาน นัดสอง ศึกเอเชียน คัพ 2023

โปรแกรมฟุตบอลเอเชียน คัพ 2023 รอบแรก นัดสอง 19 ม.ค.67

วันหยุดกุมภาพันธ์ 2567 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ ตรงกับวันไหนบ้าง